วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556


อารยธรรมตะวันออกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
            เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใต้อยู่บนภูมิภาคที่เป็นเส้นทางผ่าน ของพ่อค้าที่ทำการค้าขายระหว่างอินเดีย จีน เปอร์เซีย และอาหรับ ภูมิภาคนี้จึงมีเมืองท่าเก่าตั้งอยู่ตามชายฝั่ง เช่น มะริด ในพม่า มะละกาในมาเลเซีย จามปาปุระในเวียดนาม เป็นต้น เมืองท่าเหล่านี้มีความสำคัญ เป็นตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชาตินั้นๆ เป็นแหล่งพักซ่อมเรือ และเป็นแหล่งเสบียงอาหาร จึงทำให้เมืองท่าในภูมิภาคนี้ได้รับอารยะธรรมจากต่างชาติที่เข้ามาทำการค้าขายและตั้งถิ่นฐาน อารยะธรรมจากภายนอกที่มีอิทธิพลต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

อารธรรมอินเดีย
                หลักฐานของอินเดียที่กล่าวถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมาก ปรากฎอยู่ในคัมภีร์และวรรณคดีต่างๆ ที่สำคัญ เช่น
                - มหากาพย์รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่เก่าที่สุดประมาณศตวรรษที่ 12 ก่อนพุทธศักราช โดยกล่าวถึง “ยาวาทวีป” ว่าเป็นเกาะแห่งเงินและทอง และมีชื่อสถานที่ต่างๆ อยู่ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เรียกว่า สุวรรณทวีปหรือคาบสมุทรทองคำ และสุวรรณภูมิ(ดินแดนแห่งทองคำ)
                - คัมภีร์อรรถศาสตร์ ได้กล่าวถึงการอพยพของชาวอินเดียในระยะแรกๆ ก่อนพุทธกาลมายังบริเวณที่ปรากฏนามต่อมาว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                - ชาตกะ เป็นหนังสือเกี่ยวกับกำเนิดของพระพุทธเจ้า ได้กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินเรือมายังบริเวณที่เรียกว่า “สุวรรณภูมิ”
                ตัวอย่างหลักฐานของอินเดียเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าชาวอินเดียได้ไปติดต่อกับดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสุวรรณภูมิมานานแล้ว การติดต่อดังกล่าวทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับอารยธรรมของอินเดียในด้านต่างๆ เช่น ด้านศาสนา ด้านการปกครอง ด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม วรรณกรรมและขนธรรมเนียมประเพณีในราชสำนัก เป็นต้น

อารยธรรมจีน
                พงศาวดารราชวงศ์ฮั่น กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 749 ปีก่อนพุทธศักราชว่า เหตุจูงใจให้ชาวจีนเดินทางมายังบริเวณนี้ เพราะต้องการไข่มุกกับอัญ-มณี และพงศาวดารไดบันทึกไว้อีกว่ากองเรือจีนได้เดินทางลงมาทางทะเลตอนใต้เมื่อประมาณ 659 ปีก่อนพุทธกาล โดยติดต่อกับชาวจีนเมืองตามเกาะรายทางต่างๆ
                อารยธรรมของจีนที่แพร่ขยายเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักจะเกี่ยวกับเรื่องการค้า แต่ที่น่าสังเกตคือความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับชาติต่างๆ เป็นความสัมพันธ์ที่ถือว่าตนเป็นประเทศมหาอำนาจ

อารยธรรมอิสลาม
                อารยธรรมอิสลาม เป็นอารยธรรมของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามที่เรียกว่า “มุสลิม” กำเนิดของอารยะธรรมอิสลาม เกิดจาการรับวัฒนธรรมเก่าแก่ของชนชาติต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส ที่เรียกว่า ดินแดนเมโสโปเตเมีย และได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมของชนชาวยิว เปอร์เซีย กรีก และโรมันผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอาหรับในดินแดนคาบสมุทรอาระเบีย อารยะธรรมอิสลามแตกต่างจากอารย-ธรรมอื่นๆ คือ เกิดจากการปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม และศาสนาอิสลามได้เผยแผ่ไปทั่วคาบสมุทรอาระเบียและดินแดนภายนอก ได้แก่ แอฟริกา อินเดีย รวมทั้งดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 เมื่อพ่อค้ามุสลิม อาหรับและเปอร์เซียเข้ามาติดต่อค้าขายในภูมิภาคนี้ โดยเดินทางออกจากเมืองท่าในปลายคาบสมุทรอาระเบียหรือในอ่าวเปอร์เซีย ข้ามมหาสมุทรอินเดียมายังเมืองท่าในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หลักฐานที่ทำให้ทราบเกี่ยวกับการเผยแพร่อารยธรรมอิสลาม ได้แก่ จารึก จดหมายเหตุและบันทึกการเดินทาง เป็นต้น ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลอารยธรรมอิสลามในด้าต่างๆ เช่น ด้านศาสนา ด้านการปกครอง  ขนบธรรมเนียมประเพณีด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านอักษรและด้านวรรณกรรม เป็นต้น


อารธรรมดั้งเดิมในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แม้ว่าจะได้รับอิทธิพลจากภายนอก แต่คนในภูมิภาคนี้ก็มิใช่เป็นผู้ไม่มีอารยธรรม  แต่ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นผู้รู้จักเลือกรับวัฒนธรรมบางอย่างจากภายนอก เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ตน ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สั่งสมวัฒนธรรมของตนเอง อันแสดงให้เห็นถึงความเจริญของดินแดนแถบนี้ดังที่ จอร์จ เซเดส์ (George Cedes) ได้รวบรวมไว้ในด้านต่างๆ ดังนี้
                1. ด้านวัตถุ เช่น การทำนาโดยการทดน้ำ การเลี้ยงวัว ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโลหะ เป็นต้น
                2. ด้านสังคม เช่น ความสำคัญของสตรี และการสืบสายตระกูลทางฝ่ายมารดา การปกครอง เป็นต้น
                3. ด้านศาสนา เช่น การนับถือผีฟ้า แถน การเคารพบรรพบุรุษ การสร้างสถานที่เคารพบนที่สูง
เป็นต้น
                คนในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคนั้น รับวัฒนธรรมที่มาจากภายนอกโดยดัดแปลงให้เหมาะสมแต่ในขณะเดียวกันยังยึดมั่นในวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเองด้วย